วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559


การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
(Brain based Learning : BBL)



บทนำ

              การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based learning) ในศตวรรษที่ 21 เริ่มเด่นชัดและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก Brain based learning เป็นที่รู้จักในวงการการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการเองก็มีนโยบายให้มีการจัดการศึกษาในแนวทางนี้เป็นแนวทางหลักที่ใช้ในโรงเรียน คนเราจะเกิดมาฉลาดหลักแหลมหรือเป็นคนโง่ทึ่มนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดยังคงเป็น "สมอง" เพราะสมองเป็นตัวที่จะรับรู้และสั่งการ ทำให้เรามีความคิดและการกระทำ ถ้าปราศจากการสั่งการจากสมองแล้ว เราคงจะทำอะไรไม่ได้เลย
     

 
ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

       
แนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการของสมองกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ต้องใช้ทุกส่วนทั้งการคิด ความรู้สึกและการลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้





พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) 

1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย - การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ

2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน - การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ - การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง - การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ


3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง - การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง  








หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทาง BBL  

            1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย  ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ  หรือพวกนักกีฬาต่างๆ

            2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน  เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ  ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ 

            3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ  จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน  เรียนรู้ขนาด ปริมาณ  การเพิ่มขึ้นลดลง  การใช้ตัวเลข

            4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง  เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ  ขนาดตำแหน่ง  และการมองเห็น  สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว

            5. ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ  ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี  ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี

            6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น  เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิสัมพันธ์ในสังคม

            7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม

            8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ





                                                  กุญแจ 5 ดอก ก้าวสู่ BBL




กุญแจดอกที่ 1 สนามเด็กเล่น

     เปลี่ยนสนามเด็กเล่น  เพื่อพัฒนาสมองน้อยและไขสันหลังให้แข็งแกร่ง  เมื่อเด็กออกกำลังกายร่างกายจะส่งเลือดไปเลี่ยงสมองมากขึ้น  ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ


      Make  จัดทำสนามที่มีฐานหลากหลาย  ให้เด็กได้วิ่ง  ปีน  โหน  ลอด  กระโดด ฯลฯ และมีวัสดุกันกระแทก


      Move  จัดเวลาให้เด็กได้เล่นสนามวันละ 20  - 30 นาที ทุกวัน  โดยมีคุณครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด





กุญแจดอกที่ 2  ห้องเรียน


 เปลี่ยนห้องเรียน  เพื่อเปลี่ยนสมองของเด็กสิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่  มีความเข้มข้น  มีสีสัน  

จะช่วยกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้และจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น

      Color    ปรับปรุงห้องเรียน  ทาสีผนังหรือนำฟิวเจอร์บอร์ดสีมาติดผนัง  และทาสีโต๊ะเก้าอี้

      Corner  จัดมุมอ่านไว้ในห้องเรียนทุกห้อง

      Clean    ทิ้งของที่ไม่ใช้ในห้องเรียน  จัดวางอุปกรณ์และสื่อต่างๆ ไว้บนชั้นให้เป็นระเบียบ

      Clear     รื้อบอร์ดเก่าที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งไป  แล้วนำความรู้ที่มีประโยชน์มาจัดบอร์ด





กุญแจดอกที่ 3 กระบวนการเรียนรู้

     กระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก  โดยใช้กิจกรรมต่างๆ  ในการจัดการเรียนการสอน
 เพื่อให้สมองของเด็กตื่นตัว  สนใจ  ท้าทายการคิด  ค้นหา  ลองผิด  ลองถูก  เรียนรู้  และจดจำ


      One      กระตุ้นสมองน้อย  ด้วยกิจกรรม  "ขยับกาย  ขยายสมอง"  ทุกๆด้านต้นชั่วโมง


      TWo     กระตุ้นสมองทั้งสองซีก  โดยใช้บทเพลงและบทกลอน  และกิจกรรมที่สนุกสนานช่วย
ในการสอนภาษาและคณิตศาสตร์   
 

      Four     กระตุ้นสมองทั้งสี่ส่วน  โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เห็นภาพ  ได้รับรู้ผ่านการได้ยินเสียง
 ได้เคลื่อนไหว  และได้ใช้ประสาทสัมผัส




                                                       




กุญแจดอกที่ 4 หนังสือเรียน


   ใช้หนังสือและใบงาน  ที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง  เพื่อช่วยกระตุ้น

สมองของนักเรียน  ฝึกให้เด็กคิดที่ละขั้นตอน  และนำทักษะและความรู้ในแต่ละขั้น  มาประกอบกัน

เป็นความเข้าใจ(concept) ในที่สุด

      Brainy  Books  จัดหาหนังสือเรียน  และหนังสืออ่านเพิ่มเติมต่างๆ  ที่จะกระุ้นให้เกิดการเรียนรู้

อย่างมีคุณภาพ

      Brainy  Worksheets    จัดทำใบงานตามหลักการ BBL  ที่มี road map  นำนักเรียนสู่ความสำเร็จ









กุญแจดอกที่ 5 สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ 

     ใช้สื่อและนวัตกรรมที่แปลกใหม่  น่าตื่นเต้น  และมีสีสัน  และมีจำนวนเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน

เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยในการเรียนรู้  และกระตุ้นให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน  พึงพอใจ  เกิดความตั้งใจที่จะ

เรียนรู้เนื้อหาที่ซับซ้อน

      Learning  Tools    จัดหาสื่อ  เคร่ื่องมือ  และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้


      Learning  Board   จัดหากระดานเคลื่อนที่  สำหรับห้องเรียนชั้นอนุบาลและประถมทุกห้อง


      Learning  Cards   จัดหาบัตรภาพ  บัตรคำ  เพื่อใช้ประกอบการสอน








กระบวนการจัดการเรียนรู้

       การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน(Brain based Learning : BBL) เป็นกระบวนการที่มีชีวิตชีวา (active) บทเรียน หรือกิจกรรมต้องท้าทาย ชัดเจน ไม่คลุมเคลือ ใช้สถานการณ์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยมีกิจกรรมฝึกซ้ำทบทวนบ่อยๆ ทุกครั้งที่ฝึกการคิดทักษะใหม่ กับทักษะที่เคยฝึกแล้ว การเชื่อมโยงจะทำได้ดีเมื่อครูใช้การเปรียบเทียบสถารการณ์จำลองอุปมาอุปไมย เรื่องขบขัน บทความ ตัวอย่าง และเทคนิคการปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆ การพัฒนากระบวนการคิดมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การใช้คำถาม การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และการให้ข้อมูลย้อนกลับ

     ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวผู้เรียน มีผลต่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น จึงต้องจัดสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ หรือสื่อให้เอื้อต่อการคิด การสอนใช้แบบผู้เรียนเป็ยศูนย์กลาง กิจกรรมมีความสนุก มีความหมายและกระตุ้นการเรียนรู้รายบุคคล ครูให้โอกาสผู้เรียนมีเวลาได้รับประสบการณ์จากการทำกิจกรรมที่ใช้สมอง และเรียนรู้เนื้อหา ด้วยวิธีการสอนลักษณะนี้ ผู้เรียนจะสามารถเพิ่มพูนความเข้าใจ เก็บประเด็นสำคัญ และเพิ่มศักยภาพในการนำความรู้ไปใช้





 สนามเด็กเล่นสำหรับการเรียนรู้แบบ 

   Brain-based Learning :  BBL





























อ้างอิง   

ชนาธิป พรกุล.(2554) .การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้.กรุงเทพฯ: สำนัก
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนามเด็กเล่นสำหรับการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-based Learning): http://www.phusing.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=546


กุญแจ 5 ดอก ก้าวสู่ BBL : http://npp6.ac.th/image/forum/bbl/keybbl.html

1 ความคิดเห็น:

  1. Best Slots for Free - Play at Mapyro Casino
    What is the Best Slots Games and Best 상주 출장마사지 Free Slots Online? — This is a list 보령 출장마사지 of the most popular slot machine 부산광역 출장안마 games and 통영 출장샵 also the most popular 논산 출장마사지 casino games.

    ตอบลบ